สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
หลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเป็นไปตามร่างมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ภายใต้กรอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สาขา สาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562
หลักสูตรทางวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
1 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในการพัฒนาสุขภาพ จัดบริการหรือกิจกรรม พัฒนาสุขภาพ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพของสังคม ตามบริบทของพื้นที่
2 เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา วิจารณญาณ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
3 เป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ มีปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก สามารถสร้าง โอกาสและเพิ่มมูลค่าในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ
4 ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานด้านสาธารณสุข
5 ผู้เรียนสามารถดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติและสามารถพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการในระดับที่สูงขึ้นได้
6 ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพในระดับ บุคคล ครอบครัว กลุ่มและชุมชน ได้อย่างเป็นองค์รวม
7 ผู้เรียนสามารถวางแผนพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชนอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นการมี ส่วนร่วมของชุมชน
8 มีทักษะในกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้าน สุขภาพ ตลอดจนใช้กระบวนการวิจัยและเลือกใช้ผลการวิจัยในการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข
9 ผู้เรียนสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินงานด้าน สาธารณสุข
10 ผู้เรียนสามารถสื่อสารปัญหาทางสาธารณสุขและแนวทางป้องกันแก้ไข รวมถึงการส่งเสริม สุขภาพแก่สาธารณชนได้
11 ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านการบริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสาร การบริหารวิชาการ การบริหารองค์กร และการสนับสนุนงานทางด้านสาธารณสุข
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 นักวิชาการสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอื่นๆ
2 นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานเอกชน
3 บุคลากรฝ่ายส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
4 นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย
5 ผู้ช่วยแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ หรือผู้ช่วยเภสัชกร
6 ประกอบอาชีพอิสระ